ในซิลิคอนวัลเล่ย์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของทุนใหญ่ด้านเทคโนโลยี อาทิเช่น Google, Facebook, and Apple แต่ถนนสามสายในย่านนี้เต็มไปด้วยรถนอน เต็นท์ และเปล
ในชุดภาพจากสำนักข่าวในอเมริกา ฉายภาพให้เราเห็นถึงชีวิตของคนที่ทำงานในย่านนี้ เช่น พนักงานขาย ช่างประปา ภารโรง หรือแม้แต่ครู คนเหล่านี้ออกไปทำงานและนอนหลับตามที่ต่างๆ
ซิลิคอนวัลเล่ย์นับเป็นย่านที่มีค่าเฉลี่ยรายได้สูงที่สุดในประเทศ แต่มีช่องว่างรายได้ที่เลวร้ายที่สุดเช่นกัน ซึ่งนำมาสู่สาเหตุการไร้บ้านที่มีจำนวนมากขึ้น มีคนมากกว่า 10,000 คน อาศัยในย่านซานโฮเซ และซานตา ฮารา โดยไม่มีที่อยู่อาศัย ซึ่งนี่เป็นตัวเลขต่ำสุดในปี 2016 แล้ว
และนี่คือภาพที่ทำให้เห็นชีวิตอีกมุมหนึ่งในย่านนี้…
ในย่านเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดชนชั้นทางเศรษฐกิจใหม่ “แรงงานที่ไร้บ้าน” Marcio Jose Sanchez/AP
ย่านชานเมือง สถานที่ตั้ง สำนักงานใหญ่ของ Google, Apple, Facebook และ Tesla ผู้คนจำนวนกลายพันกลับไปพักผ่อนที่รถบ้าน
“เรายังหิวอยู่” เทส ซัลดานา ทำงานร้านอาหารในโรงแรมแถวปาโล อัลโต เธออยู่กับลูก 3 คนในรถบ้านที่เธอจอดไว้
การไหลบ่าของคนทำงานด้านเทคโนโลยีในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา สร้างประวัติศาสตร์การขาดแคลนที่อยู่อาศัยในย่านเบย์เอเรีย
ในปี 2016 ราว 1 ใน 3 ของผู้คนในแคลิฟอร์เนีย ใช้รายได้กว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าเช่าและการเข้าถึงสาธารณูปโภคด้านต่างๆ
ค่าแรงคนทำงานไม่ได้เท่ากับค่าแรงในเมืองอย่างซานโฮเซ ค่าเช่าเฉลี่ยเดือนละ 3,500 ดอลล่าร์สหรัฐ (119,000 บาท) คนเสริฟอาหารค่าแรงตกเฉลี่ยชั่วโมงละ 12 ดอลล่าร์สหรัฐ
การใช้ยานพาหนะสามารถประหยัดเงินที่พวกเขาต้องจ่ายค่าเช่าได้
Marcio Jose Sanchez/AP
เบนิโต เฮอร์นันเดซ ทำงานปรับพื้นและซ่อมหลังคา ยอมจ่ายค่าเช่ารถบ้านเก่าๆ เดือนละ 1,000 ดอลล่าร์ อาศัยอยู่กับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ และลูกในย่าน เมาท์เท้นวิว
ครอบครัวนี้ถูกไล่ออกจากอาพาร์ทเม้นเมื่อสองปีก่อน หลังจากค่าเช่าสูงขึ้นถึง 3,000 ดอลล่าร์ต่อเดือน (120,000 บาท) “หลังจากนั้น ผมสูญเสียทุกอย่าง” เฮอร์นันเดซ ให้สัมภาษณ์กับเอพี
แม้เธอจะมีการประจำทำเต็มเวลา โดยเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยซานโฮเซ แต่เอลเลน ทารา เจมส์ เพนนีย์ นอนในรถที่เธอจอดไว้ที่โบสถ์ใกล้กับศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน
เธอทานอาหารที่โรงอาหารมหาวิทยาลัยและโบสถ์
Marcio Jose Sanchez/AP
อัลเบิร์ต บราวน์ พนักงานรักษาความปลอดภัย เล่าว่า ตอนรองเท้ากัด เขาไม่สามารถทำอะไรได้ ตอนนี้เขาเพิ่งเซ็นสัญญาจ้างงานชั่วโมงละ 12 ดอลล่าร์ที่แถบไม่พอจ่ายค่าเช่าได้
“มันเป็นทางเลือกที่น่าเศร้า ผมตัดสินใจเป็นคนไร้บ้าน หรือคนสิ้นเนื้อประดาตัว ถูกไหม ” บราวน์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวเอพี
บราวน์อาศัยอยู่ในรถ และทำงานล่วงเวลาทุกวันเพื่อหาเงินจ่ายค่าซ่อมรถ
ทอมไมเออร์ส กรรมการบริหารของ Community Services Agency องค์กรไม่แสวงหากำไรในย่านเมาน์เท้นวิว ให้สัมภาษณ์กับเอพีว่า ปัญหาการไม่มีงานทำไม่ใช่สาเหตุของคนไร้บ้านในย่านซิลิคอนวัลเล่ย์
“คนมีงานทำ แต่การทำงานไม่ได้ หมายถึง การมีชีวิตที่ดีในย่านเมืองหลวงแห่งเทคโนโลยีของโลก”
ที่มา: Businessinsider