ข้อมูลเล่าชีวิต: ตัวแทนคนเพิ่งไร้บ้าน

.

.

.

โดย ว่าน ฉันทวิลาสวงศ์

.

.

.

หากมองอีกหนึ่งกลุ่มประชากรคนไร้บ้านอีกด้านหนึ่ง นอกจากผู้หญิงไร้บ้านที่ฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความเป็นไปแล้ว ยังมีอีกกลุ่มที่น่าสนใจคือ “กลุ่มคนที่เพิ่งไร้บ้าน” จากข้อมูลการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยคนไร้บ้านในประเทศไทยออกจากบ้านมาช่วงพ.ศ. 2558-59 และคนส่วนมากเพิ่งไร้บ้านในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยจำนวนที่เยอะที่สุดอยู่ที่ประมาณ พ.ศ. 2563-2566 หรือตั้งแต่ช่วงวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดโควิดที่ผ่านมา จากการสำรวจมีคนออกมาไร้บ้านในช่วงดังกล่าวมากถึง 48.80% จากจำนวนคนไร้บ้านทั้งหมดทั่วประเทศ

.

.

ด้วยคำถามในแบบสอบถามถามถึงรายละเอียดวิถีชีวิต พื้นเพ การตัดสินใจ ความกังวล และความช่วยเหลือต่างๆ เรื่องราวต่อไปนี้จึงเป็นเรื่องสมมติจากบุคคลสมมติที่เล่าจากข้อมูลส่วนมากและค่าเฉลี่ยของคนไร้บ้านหน้าใหม่ทั่วประเทศ ว่าเขาเหล่านี้มีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร โดยสามารถดูรายละเอียดกราฟข้อมูลต่างๆ ได้ท้ายเรื่อง

__________________

พื้นเพ…

ลุงอายุ 51 ปีแล้ว เรียกน้าก็แล้วกัน ลุงรู้สึกแก่ไปหน่อย ที่เห็นออกมาเป็นคนไร้บ้านจากช่วงโควิดมีตั้งแต่อายุอยู่ช่วง 20-80 ปีเลย มีเด็กคนนึงด้วย แค่ 3 ขวบเอง (Fig.1) น้าออกมาจากบ้านมาตอนปลายปี 2564 (Fig.2) พยายามสู้ช่วงโควิดจนพอมัน 2 ปีแล้วก็ไม่ไหว ค่าบ้านค่าอะไรต่างๆ งานก็หายาก สุดท้ายเลยต้องออกมาไร้บ้าน จนถึงตอนนี้ก็ไร้บ้านมาจะ 2 ปีได้แล้วหล่ะ น้าเกิดแล้วก็ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ มาตลอด (Fig.3, Fig.5) ส่วนมากที่น้าเห็น ส่วนใหญ่เป็นคนที่เกิดแล้วก็ใช้ชีวิตในพื้นที่ชนบททั้งนั้น (Fig.4, Fig.6) ตอนต้องออกจากบ้านคงเข้ามาในเมืองเพื่อหาความช่วยเหลือหล่ะมั้ง

น้าเรียนจบแค่ประถม (Fig.7) สมัยนั้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเขาเอาแค่ป.4 แต่ที่น้าเห็นจบสูงถึงปริญญาตรีก็มี ปวช. ปวส. มีหมด ก่อนน้าออกมาอยู่ข้างนอกก็มีงานทำนะ (Fig.8) เป็นงานรับจ้าง น้าก็ทั้งอ่านทั้งเขียนก็ได้ไม่คล่อง (Fig.9, Fig.10) ตอนคนจ้างเขาเริ่มกระทบทางเศรษฐกิจเขาก็เลยต้องให้เราออก ปัญหาการเงินหนักมากตอนนั้น น้าก็เลยต้องออกมา (Fig.11)

.

พื้นที่…

ปกติน้าก็นอนอยู่ตามฟุตบาทริมทางเดินนั่นแหละ บางคนเขาก็ไปนอนตามสวนหรือลานสาธารณะ (Fig.12) ตรงนี้เป็นที่นอนน้ามาราว 1-2 ปีละ (Fig.13) ตลอดที่ไร้บ้านมาก็นอนคนเดียว (Fig.14) แล้วก็แทบจะไม่ได้ย้ายที่หลับนอนเลย (Fig.15) เหมือนพอลงตัวที่นี่น้าก็อยู่มาตลอด ส่วนตอนกลางวันน้าก็นั่งอยู่ริมฟุตบาทเหมือนเดิมนั่นแหละ (Fig.16) ไม่รู้จะไปไหน คนที่เห็นอนอนสวนเขาก็ใช้ชีวิตแถวๆสวนไป

.

วิถีชีวิต…

เรื่องสุขอนามัย น้าก็อาบน้ำวันละครั้งนะ (Fig.17) ก็ไปที่วัดแหละ บางทีก็ห้องน้ำสาธารณะ บางทีก็แหล่งน้ำสาธารณะ (Fig.18) ซักผ้าก็เหมือนกัน (Fig.19) วัดน่าจะหาง่ายแล้วก็ขอเข้าไปใช้ง่ายสุดละ

วันๆ น้าก็ยังรับงานทำอยู่นะ บางทีก็หาของเก่าเอาไปขาย ถ้าไม่มีจริงๆ ถึงจะขอเขาเอา (Fig.20) น้ายังมีบัตรประชาชนติดตัวอยู่ (Fig.21) ขาดไม่ได้เลยสวัสดิการมันมากับบัตรหมด อาทิตย์นึงน้าหาเงินได้ราว 320 บาท (Fig.22) คิดเป็นเดือนก็อาจจะราวๆ 1,280 บาท (Fig.23) ก็เอาไปหาข้าวกินได้วันละ 2 มื้อ วันไหนดีหน่อยก็ได้ 3 มื้อ แล้วแต่วัน (Fig.24) ส่วนใหญ่ไม่ซื้อก็คนทั่วไปเนี่ยแหละที่เขาเอาข้าวมาแจก (Fig.25, Fig.26) น้าก็ไปรับมาเอง (Fig.27) ส่วนใหญ่ก็เห็นอย่างนี้ทั้งนั้นนะ แต่พอบวกกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิตย์นึงน้าก็มีค่าใช้จ่ายซัก 460 บาท (Fig.28) มันไม่พอจะอยู่จะกินหรอก (Fig.29) ) น้าทำงานไปพอปะทังชีวิตมีข้าวกินได้ก็ดีแล้ว

.

สุขภาพ…

น้าสูบบุหรี่แหละ (Fig.30) ช่วยให้หายหิวหายเครียดได้อยู่ ปกติก็สูบก็วันละซัก 7 ตัวได้ (Fig.31) แต่เหล้าน้าไม่กิน (Fig.32) แต่ที่เห็นเขากินกันก็ราวๆ วันละ 3 กั๊กได้ (3/4 ขวด) (Fig.33) กินกัน 4-5 วันต่อสัปดาห์นั่นแหละ (Fig.34) น้ายังไม่มีโรคประจำตัว ก็ช่วยได้เยอะ (Fig.35) แล้วน้าก็ยังพอดูแลตัวเองได้ แต่ต้องดูคนอื่นด้วยไม่ได้นะ (Fig.36) ยังดีด้วยที่น้าไม่ได้ต้องดูแลใคร (Fig.37) ออกมาตัวคนเดียวก็ดูแลตัวเองเป็นหลักเลย

ถ้าน้าป่วยนิดๆหน่อยๆ ก็ปล่อยให้มันหายเอง ไม่งั้นก็ไปหาซื้อยาตามร้านขายยาเอา (Fig.38) ถ้าอาการไม่ดีขึ้น น้าก็ยังต้องปล่อยให้มันหายเองนั่นแหละ ทนๆเอา อีกทีนึงก็ไปหาหมอที่อนามัยหรือโรงพยาบาลเลย (Fig.39) ก็ถือว่ายังดี ปีที่ผ่านมานี่น้าไม่ต้องเข้ารักษาพยาบาล (Fig.40) ไม่ได้ติดโควิดเหมือนคนอื่นเขา แต่ถ้าต้องเข้าจริงๆ ก็คงไปหาที่โรงพยาบาลโน่นแหละ (Fig.41) เวลาเข้าน้าก็ใช้สิทธิ์บัตร 30 บาทรักษาเอา ไม่งั้นคงไม่ได้หาหมอหรอก (Fig.42)

.

ความสัมพันธ์และการกลับบ้าน…

คนในครอบครัวที่น้าสนิทด้วยไม่มีเลย (Fig.43) ถ้าน้ามีปัญหาอะไรส่วนมากก็ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนคนไร้บ้านด้วยกัน อีกทีก็ญาติๆ (Fig.44) น้าไม่เคยได้ลองกลับบ้านหรือเยี่ยมบ้านนะ (Fig.45, Fig.46) บ้านน้าเขาไม่ต้อนรับเรา (Fig.47) แต่เห็นคนที่เคยเขาก็ลองกันอยู่ 2-3 ครั้ง (Fig.48) แต่สุดท้ายก็กลับมาเป็นคนไร้บ้านเหมือนเดิม

.

การช่วยเหลือ…

น้าได้รับความช่วยเหลือจากกระทรวงพม. ไม่ก็โรงพยาบาล (Fig.49) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐก็ช่วยได้บ้าง (Fig.50) แต่หลายคนก็เข้าไม่ถึงนะ ไม่มีใครช่วยด้วย ส่วนภาคเอกชนเขาก็ช่วยเรื่องเงินเป็นหลัก (Fig.51) แต่นอกจากนี้น้าก็ไม่ต้องการความช่วยเหลืออะไรมากไปกว่านี้แล้ว (Fig.52) ทุกวันนี้น้าก็ไม่ค่อยมีอะไรต้องกังวลเท่าไหร่ (Fig.53) เริ่มได้แล้ว ถ้าจะช่วยได้ น้าอยากกลับไปทำงานรับจ้างรายวันแล้ว (Fig.54) เผื่อจะได้หาเงินได้มากขึ้น

.

__________________

.

.

ชุดกราฟข้อมูลอ้างอิงเรื่องราว

พื้นเพ…

พื้นที่…

วิถีชีวิต…

สุขภาพ…

ความสัมพันธ์และการกลับบ้าน…

การช่วยเหลือ…