วิกฤติชีวิตในวัยเกษียณ: ผู้สูงอายุอเมริกาต้องเผชิญกับค่าเช่าที่เพิ่มสูงขึ้น จนนำไปสู่ปัญหาการไร้บ้านที่เพิ่มขึ้น

ในขณะที่ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกายังคงมีราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและประกอบกับวิกฤติคนไร้บ้าน ทำให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อกลุ่มเบบี้บูมเมอร์รุ่นเยาว์ (กลุ่มอายุที่กำลังจะเกษียณและเพิ่งเกษียณเมื่อไม่นานนี้)

ข้อมูลจากการเคหะและการพัฒนาเมืองที่ได้รับจาก The Wall Street Journal แสดงให้เห็นว่ากลุ่มคนไร้บ้านในอเมริกาที่มีการเติบโตของจำนวนมากที่สุด ล้วนอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุช่วงวัย 65 ปีขึ้นไป โดยตั้งแต่ปี 2550 ถึง 2560 เปอร์เซ็นต์ของคนอายุ 51 ปีขึ้นไปในศูนย์พักพิงคนไร้บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 16.5 เปอร์เซ็นต์ เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จากการเพิ่มขึ้นของประชากรในกลุ่มช่วงอายุนี้ ในปี 2561 ได้มีการเริ่มติดตามประชากรอายุ 55 ปีขึ้นไปในศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน จากการติดตามพบว่าตัวเลขประชากรช่วงอายุนี้เพิ่มขึ้นจาก 16.3 เปอร์เซ็นต์ เป็น 19.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2564

สภาการดูแลสุขภาพแห่งชาติสำหรับคนไร้บ้านรายงานว่าสัดส่วนของผู้ป่วยอายุ 50 ปีขึ้นไปที่เข้ารับบริการในปี 2563 คือ 36 เปอร์เซ็นต์ โดยเพิ่มขึ้นมาจาก 25 เปอร์เซ็นต์ ในช่วง 15 ปีก่อน สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น “ปัญหาที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” สิ่งที่พบจากสถานการณ์นี้คือการเห็นผู้สูงอายุในศูนย์พักพิง ค่ายพักแรมสำหรับคนไร้บ้านและผู้ที่อาศัยอยู่ในรถในอัตราที่เพิ่มขึ้น

สถานการณ์แนวโน้มที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะส่งผลรุนแรงต่อกลุ่มบูมเมอร์ในช่วงท้าย ซึ่งเป็นครึ่งหลังของกลุ่มที่เกิดระหว่างปี 2599 ถึง 2507 โดย The Wall Street Journal กล่าวว่ากลุ่มช่วงวัยนี้เข้าสู่แรงงานและได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะถดถอยในช่วงกลางทศวรรษ 2513 และต้นทศวรรษที่ 80 ในทันที ซึ่งทําให้สภาพทางการเงินโดยรวมของกลุ่มช่วงอายุนี้มีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยเกษียณ นอกเหนือจากนั้น การศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโกในปี 2560 พบว่า 43.6 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สูงอายุไร้บ้านในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จากการสัมภาษณ์จะพบว่าผู้สูงอายุกลายเป็นคนไร้บ้านหลังจากช่วงอายุ 50 ปี

ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้น และความช่วยเหลือด้านโรคระบาดกำลังหายไป

ผู้สูงอายุส่วนมากที่เกษียณอายุหรือกำลังจะเกษียณอายุล้วนประสบปัญหาในช่วงเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องเผชิญวิกฤติค่าที่อยู่อาศัย และการยุติโครงการช่วยเหลือในยุคโรคระบาด นอกเหนือจากนั้นตามรายงานของสำนักงานประกันสังคม ผลประโยชน์ประกันสังคมเฉลี่ยตอนนี้อยู่ที่ 1,706 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่า 300 ดอลลาร์จากราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยเฉลี่ยของประเทศที่สูงเกือบเป็นประวัติการณ์ที่ 2,052 ดอลลาร์

ค่าเช่าที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเมืองฟลอริดา ซึ่งเป็นเมืองที่มีอัตราพลเมืองสหรัฐอเมริกาที่มีประชากรช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไปสูงสุดเป็นอันดับสอง นอกเหนือจากนี้จำนวนครึ่งหนึ่งของ 20 เมืองในเมืองใหญ่ที่มีค่าเช่าราคาสูงนับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่โควิด-19 ล้วนอยู่ในเมืองฟลอริดา ในขณะเดียวกัน เนื่องจากจํานวนชาวอเมริกันที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปคาดว่าจะมีการเติบโตมากถึง 45% ระหว่างปี 2563 ถึง 2583 จาก 56 ล้านคนเป็น 81 ล้านคน จากการเปรียบเทียบจากปริมาณพบว่าที่อยู่อาศัยราคาถูกที่มีอยู่มีจำนวนลดน้อยลงมาก

จากการวิเคราะห์ข้อมูลของรัฐบาลกลางพบว่าปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีบ้านพักคนชราน้อยกว่าในช่วงปี 2560 อย่างน้อย 600 แห่ง ในฟลอริดา และมีจำนวนผู้สูงอายุที่รอที่อยู่อาศัยระยะยาวในราคาประหยัดที่จ่ายโดย Medicaid อยู่เป็นจำนวนมาก หากที่อยู่อาศัยราคาถูกยังคงหายากและค่าใช้จ่ายยังคงพุ่งสูงขึ้น ผู้สูงอายุชาวอเมริกันจะต้องหารายได้รูปแบบอื่นมากขึ้นเพื่อมาจ่ายค่าเช่าที่อยู่อาศัย ไม่อย่างนั้นวิกฤตคนไร้บ้านผู้สูงอายุจะกลายป็นวิกฤติที่เกิดปัญหาในอนาคตตามมาอย่างแน่นอน

ที่มา :

https://www.businessinsider.com/young-late-baby-boomers-homeless-rent-social-security-2023-9