หญิงชาวแคลฟฟอร์เนียพัฒนาแอปส่งอาหารให้คนไร้บ้าน แก้ปัญหาอาหารเหลือในอเมริกา

หญิงชาวแคลิฟฟอร์เนียสร้างนวัตกรรมผลิตแอปพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งอาหารให้คนไร้บ้านกว่าหกแสนมื้อในช่วงแรกเริ่ม

app3

ภาพ โกมาน อาร์เมด /จาก Independent

 

เมื่อ 3 ปีก่อน โกมาน อาร์เมด เป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ในขณะที่เธอกำลังเดินอยู่ในมหาวิทยาลัย คนไร้บ้านเดินเข้ามาขอเงินเพื่อนำไปซื้ออาหาร แต่แทนที่เธอจะให้เงิน เธอกลับเชิญชายคนไร้บ้านดังกล่าวไปทานอาหารกลางวันด้วย

ขณะทานอาหารด้วยกัน ชายคนนั้นเล่าให้เธอฟังว่า เขามาเป็นทหารได้อย่างไร และหลังจากกลับจากอิรัก เขาต้องเจอเผชิญกับปัญหาต่างๆยากลำบากอย่างไรบ้าง

หลังจากประสบการณ์ในครั้งนั้นได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เธอจัดตั้งศูนย์รับบริจาคอาหารเหลือในมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปแจกจ่ายกับคนไร้บ้าน

เมื่อปีที่ผ่านมาเธอกลายเป็นซีอีโอขององค์ด้านการบริการที่ไม่แสวงหาผลกำไร นามว่า “Feeding Forward” (App) (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “Copia”)
เธอให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเดลี่ในช่วงคิดค้นแอปแรกๆว่า

“ปัญหาอาหารเหลือเป็นปัญหาที่เฮงซวยที่สุดในโลก”

“ความหิวโหยเป็นเรื่องเลวร้าย ไม่ว่าเกิดขึ้นที่ไหนก็แย่ทั้งนั้น โดยเฉพาะในประเทศที่เจริญอย่างอเมริกา ยิ่งไม่ควรมี”

“ลองนึกถึงสนามฟุตบอล แล้วมีอาหารอยู่เต็มความจุ นั่นแหละคือจำนวนอาหารเหลือในแต่ละวันของอเมริกา”

คราวนี้ลองมาดูว่า แอป Feeding Forward ช่วยในจัดการส่งอาหารเหลือเหล่านั้นอย่างไร

app2

1

ภาพจาก COPIA

หากผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือผู้ใดก็ตามที่ต้องการบริจาคอาหารเหลือในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการอาหาร เพียงแค่กดปุ่ม ก็จะมีคนขับรถส่งอาหารในเครือข่ายของ Feeding Forward มารับอาหาร และนำไปส่งในพื้นที่นั้น

ในปีที่ผ่านมา Feeding Forward ครอบคลุมเฉพาะในเมืองซานฟรานซิสโกเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็ช่วยส่งอาหารให้คนไร้บ้านในเมืองนี้เป็นจำนวนกว่า 575,000 มื้อ

“มันมีความไม่เป็นธรรมในการเข้าถึงอาหาร” เธอกล่าว

หลังจากเรื่องนี้เผยแพร่ออกไปทาง C-net ผู้คนนับพันต่างเสนอแนะให้เธอขยายขอบเขตการบริการของระบบออกไป

“ฉันก็ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะดังกระฉ่อนไปไกล”

“ผู้คนจากไนโรบี (เคนยา) บังคาลอร์(อินเดีย) ฮ่องกง เขียนหาเราเพื่อขอให้ขยายการบริการไปในเมือง หรือในประเทศของเขา”

ปัจจุบันเมืองซานฟรานซิสโกมีจำนวนคนไร้บ้าน 6,686 คน โกมาน อาร์เมด ได้เปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่เป็น “Copia” เธอให้เหตุผลว่า ชื่อ Copia ได้แรงบันดาลใจมาจากชื่อเทพโรมัน ซึ่งเป็นเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรุ่งโรจน์

“มันเข้ากับสิ่งที่เรากำลังจะเดินไปข้างหน้า โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะแบ่งปันความอุดมสมบูรณ์ให้ใครก็ตามที่ต้องการ”

“เดิมทีเราไม่คิดว่า สิ่งที่เราทำจะมีผลระดับประเทศ หรือข้ามประเทศ แต่ปัจจุบันเราตั้งเป้าว่าจะขยายการบริการให้ครอบคลุมทั้งประเทศอเมริกาภายในปี 2016 และขยายระบบในระดับสากล ในปี 2017” เธอประกาศเจตนารมณ์หลังจากเปลี่ยนชื่อองค์กรใหม่

 

ที่มา : The Independent และ Copia