อดีตคนไร้บ้านถูกศาลแคนนาดาสั่งปรับ 1.7 ล้านบาท ในฐานผิดต่อกม.รัฐ ช่วงใช้ชีวิตคนไร้บ้าน

ศาลเมืองออนทาริโอสั่งปรับเงินชายที่เคยใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน เป็นจำนวน 65,000 ดอลลาร์แคนนาดา(ประมาณ 1.7 ล้านบาท) ในกรณีนี้ทำให้เกิดการถกเถียงเรื่องการบังคับใช้กฎหมายกับคนไร้บ้านในแคนนาดา

5184

แกรี่ วิลเลี่ยม เป็นโรคติดแอลกอฮอล์ และใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้านอยู่หลายปี เขามักจะเผชิญหน้าและกระทบกระทั่งกับตำรวจอยู่เสมอ  โดยสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการดื่มแอลกอฮอลล์ในที่สาธารณะ

ต่อมา เมื่อเขาเลิกดื่ม และกลับมาใช้ชีวิตปกติ เลิกใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน เขาพยายามที่จะลืมอดีตอันไม่น่าจดจำด้วยการหางานในร้านอาหาร และช่วยเหลือให้คำปรึกษากับคนติดยาและคนไร้บ้าน แต่เมื่อกำลังจะเริ่มต้นชีวิตใหม่กลับมีการแจ้งความเขาจำนวน 450 ข้อหา จำนวนข้อหาเหล่านี้อาจทำให้เขาเป็นหนี้หลายพันดอลลาร์แคนนาดา

“ผมเหมือนติดอยู่ในขุมนรก”

“พวกเขาระงับการออกใบขับขี่ผม พวกเขายังระงับการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งเป็นช่องทางกู้เงินที่ผมต้องการยืมมาสร้างอนาคต” แกรี่ วิลเลี่ยม ซึ่งออกมาเริ่มต้นชีวิตใหม่เกินกว่าสองปี กล่าว

ปีที่แล้ว วิลเลี่ยมในวัย 45 ปี ได้เข้าร่วมโครงการ “Fair Change” ซึ่งเป็นคลินิกกฎหมายดำเนินการโดยนักเรียนกฎหมายในเมืองโตรอนโต

เคียร์ร่าเบลลินี่ หนึ่งในจำนวนอาสาสมัครที่เข้ามาดูแลเคสนี้ กล่าวว่า จำนวนคดีที่ถูกเพิ่มเข้ามา อาจใช้เวลาในการทำเอกสารมากกว่า 100 ชั่วโมง ซึ่ง ณ ตอนนี้มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยดูจำนวน 12 คน แม้จะแบ่งงานกันไปแล้ว แต่ก็น่าจะใช้เวลาราวหนึ่งเดือน

ผู้พิพากษาแคทรีนา มัลลิแกน สั่งยกเลิกค่าปรับจากใบสั่งทั้งหมด เหลือไว้เพียงข้อหาเดียว ซึ่งในคดีดังกล่าววิลเลียมถูกตัดสินให้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เป็นเวลา 156 ชั่วโมง. วิลเลียมยังคงติดค้างค่าปรับรวมทั้งสิ้น  5,000 ดอลลาร์แคนนาดา(ประมาณ 1 แสนสามหมื่นบาท)ในความผิดต่อรัฐ ซึ่งจะต้องยื่นอุทธรณ์แยกเป็นกรณีๆต่อไป

2

ภาพ: ซ้าย/เคียร์ร่าเบลลินี่ ขวา/แกรี่ วิลเลี่ยม

เคียร์ร่าเบลลินี่ กล่าวว่า โครงการ Fair Change เจอกรณีแบบนี้บ่อยๆ และ กลุ่มของเขาสามารถลดจ่ายค่าปรับได้แค่ 10- 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เขาเล่าในกระบวนการพิจารณาความ

“ในคดีของวิลเลี่ยม ควรจะเป็นกรณียกเว้น คนไร้บ้านเกือบทุกคนในโตรอนโตเป็นหนี้ต่อรัฐหมด หลายคนที่เจอเป็นหนี้ปรับ สองหมื่นดอลลาร์แคนนาดา”

เขาอธิบายว่า มันเป็นปัญหาที่เกิดจากบังคับใช้กฎหมายกับคนไร้บ้าน และเป็นปัญหาที่ยังไม่ถูกมอง

“เมื่อคุณอาศัยนอนข้างถนน คุณมักจะได้รับใบสั่ง 5-10 ใบต่อวัน คุณส่งเสริมวงจรนี้ เพียงเพราะแค่ผู้คนออกมาอยู่ในพื้นที่สาธารณะเพราะว่าเขาไม่มีที่ไป”

กรณีของวิลเลี่ยมได้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียง และการบังคับใช้กฎหมายกับขอทานและคนไร้บ้านในแคนนาดาอีกครั้ง งานวิจัยของมหาวิทยาลัยยอร์กในโตรอนโตปี 2014 ระบุว่า จำนวนข้อหาที่ตำรวจบังคับใช้กฎหมายกับขอทานและคนไร้บ้านในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา คิดเป็นค่าปรับประมาณ 1 ล้านดอลลาร์แคนนาดา ที่ไม่ได้แจ้ง และปล่อยไป คิดเป็นค่าปรับไม่น้อยกว่า 4 ล้านดอลลาร์แคนนาดา และร้อยละ 99 ไม่ได้ค่าปรับตามที่แจ้งข้อกล่าวหาไป

เคียร์ร่าเบลลินี่ กล่าวว่า กฎหมายนี้บังคับใช้แต่กับคนไร้บ้าน ซึ่งมันไม่มีประโยชน์ ที่จะบังคับใช้กับคนที่ประสบสภาวะปัญหาทางจิตใจ และติดยา

“ใครก็ตามที่เชื่อว่าค่าปรับนี้จะได้รับการชำระ ผมไม่เชื่อ คุณกำหนดให้คนที่ไม่มีเงิน จ่ายค่าปรับ ไม่ต้องเป็นอัจฉริยะมาจากไหนก็พอคาดเดาได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น”

 

หมายเหตุผู้แปล – ประเทศแคนนาดามีการดีเบทเรื่องการบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มคนบนฐานของความเข้าใจเรื่องความแตกต่างฯ เช่น กรณีกลุ่มชาติพันธ์เป็นที่ตกลงจะมีการกั้นเขตสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองที่หากินในเขตป่า และใช้กฎหมายคนละฉบับ ทำในสิ่งที่คนผิวขาวทำไม่ได้  ซึ่งเป็นหลักคิดที่ให้ความสำคัญกับสิทธิทางวัฒนธรรม หมายความว่า สิทธิทางวัฒนธรรมกลายเป็นหลักคิดที่ใช้ในการออกและบังคับใช้กฎหมาย กรณีคนไร้บ้าน ทนาย Ciarabellini เสนอว่ากฎหมายมีปัญหาในการบังคับใช้กับคนกลุ่มนี้ และควรจะมีการทบทวนการใช้กฎหมายใหม่

 

ที่มา : The Guardian