‘Housing First Charlotte-Mecklenburg’ องค์กรเพื่อคนไร้บ้านในอเมริกา

apartments

ภาพโดย Davie Hinshaw-The Charlotte Observer

Housing First Charlotte-Mecklenburg (ต่อไปจะเรียกว่า Housing First) เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในเมืองชาร์ลอตต์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีจุดประสงค์จะยุติการไร้บ้านเรื้อรัง (chronic homelessness)

วิธีการของ Housing First นั้นแตกต่างจากที่อื่นๆ ตรงที่ไม่มีการเรียกร้องคุณสมบัติว่าต้องมีความมั่นคงระดับหนึ่งหรือเลิกยา ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถเข้าอาศัยในที่พักของโครงการได้ แต่สำหรับ Housing First แล้ว การมีที่อยู่อาศัยก่อนจะทำให้เป็นเรื่องง่ายต่อการสร้างความมั่นคงให้คนไร้บ้าน

Housing First เชื่อว่า การมีที่อยู่อาศัยนั้นเป็นสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่รางวัลสำหรับความสำเร็จในการเยียวยา และเมื่อไหร่ที่สามารถกำจัดสารพันปัญหาอันเกิดจากการไม่มีที่อยู่อาศัยไปได้ ก็จะสามารถสร้างความมั่นคงทางสังคมและสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและคงทนกว่า

Housing First เพิ่งเฉลิมฉลองการขยาย Moore Place อพาร์ตเมนต์สำหรับคนไร้บ้านขนาด 85 ห้อง เป็น 120 ห้อง ด้วยงบประมาณ 12 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระนั้น Housing First ก็ไม่ได้คิดจะหยุดแค่คนไร้บ้าน แต่ยังมุ่งไปที่กลุ่มคนทำงานรายได้ต่ำซึ่งไม่ใช่คนไร้บ้านด้วย

คนทำงานกลุ่มนี้ไม่สามารถสู้กับค่าที่อยู่ที่อาศัยที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วใน เมืองชาร์ลอตต์ได้ เมืองยังต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย (affordable housing) อีก 34,000 หน่วย จึงจะเพียงพอสำหรับคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของรายได้เฉลี่ยของประชากรทั้งประเทศ หรือก็คือ 40,200 เหรียญต่อปีสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิกสี่คน

มาตรการต่างๆ ถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่เติบโตไปพร้อมๆ กับประชากรของเมืองชาร์ลอตต์ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยจำนวน 60 ล้านเหรียญสหรัฐ สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือกระทั่งสิ่งที่ไม่ค่อยมีใครแตะต้องอย่างการเพิ่มผลตอบแทนสำหรับความหนา แน่นในการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือที่เรียกว่า density bonus

(density bonus เป็นการให้สิทธิพิเศษแก่นักพัฒนาที่ดินหรือสังหาริมทรัพย์ที่ทำตามวิสัย ทัศน์ชุมชน เช่น ยอมให้สร้างอาคารสูงกว่าที่กำหนด หรือมีห้องมากขึ้น แต่ต้องทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชน เช่น มีจำนวนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเป็นจำนวนหรือสัดส่วนเท่านั้นเท่า นี้)

การไม่มีกฎหมายเรื่องนี้ที่ชัดเจนจากรัฐ ทำให้ผู้นำของเมืองต้องหาทางใหม่ๆ ดังเช่นที่ย่านเมคเลนบูร์กประสบความสำเร็จในการสร้างเงื่อนไขเรื่องที่อยู่ อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในการขายที่ดินของรัฐแก่ผู้พัฒนาเอกชน แต่ในกรณีดังกล่าวนั้น ผู้พัฒนาเอกชนก็ยังพยายามจะจำกัดให้ที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยนั้นมี จำนวนน้อยที่สุด เพราะสำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในเมืองชาร์ลอตต์ ทุกหน่วยที่ยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นหมายถึงกำไรที่มากขึ้น

ทางเมืองชาร์ลอตต์ก็ได้พยายามหาทางออก และมันชัดเจนมากว่ามาตรการที่แข็งกร้าวนั้นมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเขตที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือแม้แต่มาตรการท้องถิ่นอย่างการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มี รายได้น้อย

และพวกเขาจะพยายามมากขึ้นต่อๆ ไป

ที่มา: The Charlotte Observer

บันทึก