จากสถานการณ์คนไร้บ้านที่อาศัยบนท้องถนนในสหราชอาณาจักรที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตั้งแต่ช่วงปี 2010 แต่สำหรับเมืองเฮลซิงกิในฟินแลนด์ได้ถูกจัดการจนใกล้ที่จะหมดสิ้น สหราชอาณาจักรควรเรียนรู้อะไรจากฟินแลนด์ ?
หากคุณเดินออกจากสถานีรถไฟที่เป็นศูนย์กลางของเฮลซิงกิในตอนเย็น คุณจะไม่เห็นภาพคนไร้บ้านหรือขอทานบนถนน ซึ่งแตกต่างจากเมืองใหญ่ๆ ในสหราชอาณาจักรที่เราจะเห็นคนนอนขดในถุงนอนหรือเต็นบนท้องถนน
Sanna Vesikansa รองนายกเทศมนตรีเมืองเฮลซิงกิกล่าวว่า ในช่วงเวลาที่เธอเป็นเด็ก เธอเห็นคนจำนวนมากอาศัยหลับนอนในสวนธารณะหรือกระทั่งในป่า แต่ตอนนี้มันไม่มีอีกแล้ว บนถนนในเฮลซิงกิก็ไม่มีคนไร้บ้านอาศัยอยู่ ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับปัญหาคนไร้บ้านอย่างต่อเนื่อง ในปี 1987 มีคนไร้บ้านมากกว่า 18,000 คน แต่ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 6600 คน ที่ไม่มีบ้าน แต่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับเพื่อน ครอบครัว หรือศูนย์พักพิงชั่วคราว มีเพียงจำนวนน้อยมากที่อาศัยอยู่บนถนน นอกจากนี้เธอเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ไม่ใช่แค่การช่วยเหลือด้านศีลธรรมเท่านั้น แต่มันเป็นการประหยัดงบประมาณของรัฐในระยะยาว เพราะหากเราไม่ดูแลคนไร้บ้าน และปล่อยให้เขาต้องประสบปัญหาสุขภาพ และเข้าโรงพยาบาล รัฐก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเราตระหนักเสมอว่า ท้องถนนไม่ควรเป็นที่อยู่อาศัยของคน พวกเขาต้องมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
แล้วฟินแล้วจัดการปัญหานี้อย่างไร?
ตั้งแต่ปี 2007 รัฐบาลได้กำหนดนโยบายด้านที่อยู่อาศัยบนหลักการ “Housing First” รัฐบาลเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับที่อยู่อาศัยจะช่วยให้คนไร้บ้านมีความมั่นคงได้เร็วที่สุด หลังจากนั้นจึงให้ความช่วยเหลือสิ่งที่เขาต้องการ ช่วยเหลือผู้ที่ติดยาเสพติด ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆ การฝึกอบรมการศึกษา รวมทั้งการทำงาน วิธีการนี้เป็นวิธีการที่แตกต่างการแก้ปัญหาแบบเดิมๆในสหราชอาณาจักร ที่ให้การช่วยเหลือคือการพักอาศัยในโฮสเทลหรือบ้านพักชั่วคราวเท่านั้น
ตัวอย่างคนไร้บ้านที่ได้รับการแก้ไขปัญหาคือ โทมัส แซลมี่ ชายที่เป็นคนไร้บ้านตั้งแต่อายุ 18 ปี เนื่องจากต้องออกจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เขาใช้ชีวิตบนท้องถนนในเฮลซิงกิเป็นเวลาสามปี ในช่วงเวลาที่สภาพอากาศเลวร้ายถึง -7 องศาเซลเซียส เขาเล่าว่า “เมื่อชีวิตต้องสูญเสียทุกอย่าง เขามองว่าไม่มีอะไรที่สำคัญในชีวิตเขาอีกแล้ว เขาคิดถึงการฆ่าตัวตาย และคิดเสมอว่าคุณจะตายได้ เพราะอากาศหนาว” แต่สองปีต่อมาเขาได้รับการช่วยเหลือจาก Helsinki Deaconess Institute (HDI) ซึ่งเป็นหนึ่งองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้านในฟินแฟนด์ ทำให้โทมัส ได้มีอาร์ตเมนท์เป็นของตัวเอง ปัจจุบันเขาอายุ 24 ปี เขาเล่าว่าการได้รับการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยจาก HDI ได้พลิกชีวิตของเขาเป็นอย่างมาก การมีบ้านทำให้เขาสามารถทำอะไรก็ได้เมื่อเขาต้องการ และเมื่อมันเป็นบ้านที่มั่นคง มันช่วยทำให้เขาสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ให้กับตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นงาน การศึกษา การมีครอบครัว หรือเพื่อน ซึ่งจากจากที่คุณอยู่บนท้องถนน คุณจะไม่มีอะไรเลย โดยเฉพาะความปลอดภัย
ทั้งนี้ภายใต้นโยบาย Housing First ผู้ที่จะเข้าโครงการ จะได้บ้านโดยไม่มีเงื่อนไข แม้ว่าคุณจะยังเป็นคนติดยาหรือใช้แอลกอฮอล์ เพียงแค่คุณต้องไม่ขาดการติดต่อจากพนักงานช่วยเหลือและจ่ายค่าเช่าให้กับรัฐ สำหรับอพาร์ตเมนท์ของ HDI มีทั้งหมด 403 ห้อง โดยที่อพาร์ตเมนท์จะมีพื้นที่ส่วนกลาง สำหรับทำอาหาร สังสรรค์ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของผู้พักอาศัย
ประสบการณ์ความสำเร็จของนโยบาย “Housing First” ได้รับความสนใจจากรัฐบาลสหราชอาณาจักร เนื่องจากตัวเลขอย่างเป็นทางการรายงานว่า ในสหราชอาณาจักรมีคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นจาก 1768 คน ในปี 2010 เป็น 4677 คน ในปี 2018 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนับเฉพาะคนที่อาศัยบนท้องถนน รัฐบาลได้เริ่มร่างโครงการนำร่องโดยมีการทดลองขนาดเล็กในเมืองแทนเชสเตอร์ เมอร์ซี่ไซด์ และเวสมิดแลนด์ ซึ่งดำเนินการโดย The Salvation Army โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น ทั้งนี้จะเริ่มดำเนินการในไม่ช้า แต่ยังมีข้อกังวลต่อโครงการดังกล่าวว่า มันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ ที่จะมอบกุญจที่พักโดยไม่มีข้อผูกมัดให้กับคนที่ยังติดเหล้าหรือติดยา แต่นีล คอร์นธาเวท หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการองค์กรบานาบัส ในแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลด้านที่ยู่อาศัยกล่าวว่า “องค์กรคิดว่านโยบายนี้สามารถใช้ในฟินแลนด์ได้ แล้วเหตุใดจะใช้กับที่นี่ไม่ได้ มันมีอุปสรรคมากมายสำหรับคนที่จะเข้ามาพักอาศัยหรือถูกกีดกันออกจากโครงการ เนื่องจากการใช้สารเสพติดหรือปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นเราจึงควรสร้างทางเลือกให้กับคนเหล่านี้ด้วย ” แต่สำหรับการนำโมเดลจากฟินแลนด์มาใช้ในสหราชอาณาจักร จะมีข้อเสียเปรียบตรงที่สหราชอาณาจักร ไม่มีที่พักอาศัยที่พร้อมให้บริการทันที จึงทำให้คนไร้บ้านบางส่วนอาจจะต้องกลับออกไปอาศัยในที่สาธารณะในบางช่วง
แอนดี้ เบิร์นแฮม นายกเทศมนตรีเมืองแมนเชสเตอร์เชื่อมั่นว่า โครงการนี้จะเป็นคำตอบที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านและมันจะเป็นตัวอย่างให้รัฐบาลเลือกใช้โครงการนี้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาแบบถาวร สำหรับฉันเชื่อว่า คุณไม่สามารถมีสุขภาพที่ดีหรือคุณภาพชีวิตที่ดีได้ หากคุณไม่มีบ้าน
ที่มา www.bbcc.com