ท่ามกลางสถานการณ์ค่าครองชีพที่ยังคงทะยานขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เกิดปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่ในกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะกับกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย แต่ยังรวมถึงเด็กเล็กส่วนนึงใน เกือบ 10,000 คน และเป็นเด็กมากกว่าอีก 4,000 คนต้องอาศัยอยู่ในห้องพักริมทางเป็นที่พักฉุกเฉินนานเป็นเวลาหลายปี คนกลุ่มนี้ถูกขนานนามว่า “motel generation” จากสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้ไม่สามารถจะเช่าหรือซื้อบ้านของตัวเองได้ และการรอคิวบ้านจากการเคหะแห่งชาติยาวนานอย่างไม่มีจุดหมาย
การไม่มีบ้านเป็นหลักแหล่งที่มั่นคงนั่นส่งผลต่อเด็กรุ่น motel generation โดยตรง เพราะบ้านเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่มีความสำคัญ จำเป็นต่อการดำรงชีพพื้นฐาน เมื่อเด็กในรุ่นนี้ต้องอาศัยในที่พักริมทางเป็นเวลานานๆ ทั้งยังต้องย้ายที่ไปเรื่อยๆ นั่นย่อมส่งผลต่อการรับรู้และความรู้สึกมั่นคงทางชีวิตและจิตใจอย่างแท้จริง
เช่นเดียวกับ Kristina Reid เธอขยับขยายมาจากการนอนในรถมาสู่ห้องพักริมทางนี้ต่างบ้านและยังชีพด้วยอาหารกระป๋องมาเป็นเวลาราว 2 ปี ในระหว่างที่รอคิวบ้านจากการเคหะแห่งชาติ เธอให้สัมภาษณ์ถึงการต้องใช้ชีวิตแบบนี้ว่า “สิ่งที่ถูกพรากจากไป คือ ครอบครัว สาเหตุมาจากการที่คุณไม่สามารถมีบ้านเป็นของตัวเองได้” เพราะการใช้ชีวิตในห้องพักริมทางนั้น “เป็นเรื่องที่น่ารังเกียจสำหรับครอบครัว” ไม่ควรจะพักอยู่ในนั้นเกินกว่าสองสามวัน
นโยบายการเปลี่ยนที่พักริมทางให้เป็นบ้านพักฉุกเฉินเริ่มต้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016 ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาลแห่งชาตินิวซีแลนด์ที่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยคนไร้บ้านจากการใช้ชีวิตข้างถนน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2020 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ความเป็นอยู่ของคนไร้บ้านยากลำบากขึ้นทั้งด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ ทำให้รัฐบาลต้องพยายามหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน ประกอบกิจการที่พักต่างๆ ที่ปราศจากรายได้จากนักท่องเที่ยว จึงร่วมมือกันนำเอาห้องพักที่ว่างเหล่านี้เป็นที่พักฉุกเฉินสำหรับคนไร้บ้านชั่วคราวก่อน
แต่สถานการณ์กำลังจะเปลี่ยนไปอีกครั้งเมื่อธุรกิจภาคการท่องเที่ยวจะกลับมาดำเนินการได้อีกครั้ง มีแนวโน้มว่ากลุ่มคนเหล่านี้อาจต้องกลับไปเป็นคนไร้บ้าน ใช้ชีวิตอาศัยอยู่ข้างถนนอีกครั้ง ยิ่งตอกย้ำความไม่มั่นคงของกลุ่มคนไร้บ้าน ปัญหาความไร้บ้านจึงไม่ได้ส่งผลกระทบกับคนรุ่นพ่อแม่เท่านั้น แต่ยังส่งไม้ต่อความไร้บ้านนี้ไปสู่คนรุ่นต่อไปอีกด้วย
แม้ว่ารัฐจะพยายามสร้างบ้านสาธารณะให้มากขึ้น แต่ความต้องการยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บ้านจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้มีตัวเลขของผู้ที่ต่อคิวรอบ้านสูงถึง 26,000 คน เกือบ 21,000 คนรอมานานกว่า 5 ปีแล้ว สาเหตุจากวิกฤตค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นที่ทำให้ค่าครองชีพ รวมทั้งราคาบ้านพุ่งสูงตามไปด้วย ความพยายามของรัฐที่จะสร้างบ้านสาธารณะจึงอาจไม่เพียงพอ จึงมีการเสนอทางออกให้มีการจับมือร่วมกันกับภาคเอกชนและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในการร่วมด้วยช่วยกันแก้ไขปัญหานี้ด้วย
การเฝ้ารอที่จะได้เป็นเจ้าของบ้านจึงกินเวลานาน จากเดือนกลายเป็นปี จากปีกลายเป็นการรอคอยที่ไร้จุดหมาย ที่อยู่อาศัยในราคาที่เข้าถึงได้ จับต้องได้จึงยังดูเป็นเรื่องไกลตัวอยู่ไม่น้อย
ที่มา:
– https://www.stuff.co.nz/national/300276394/motel-generation-feared-as-emergency-housing-need-continues
– https://www.theguardian.com/world/2022/sep/17/new-zealands-motel-generation-caught-between-life-in-limbo-and-life-on-the-street
– https://www.theguardian.com/world/2022/feb/19/new-zealands-homeless-have-been-moved-off-the-streets-but-the-crisis-endures
– https://www.theguardian.com/world/2021/jul/11/pressures-have-built-up-how-can-new-zealand-solve-its-social-housing-crisis