เด็กในศูนย์พักพิงฯคนไร้บ้านอังกฤษเพิ่มขึ้น 37 เปอร์เซ็นต์ในรอบ 3 ปี

จำนวนตัวเลขเด็กในศูนย์พักพิงชั่วคราวของอังกฤษเพิ่มขึ้นถึง  37  เปอร์เซ็นต์ จากปี 2014 อปท.ขออำนาจตั้งกองทุนกู้ยืมแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยถาวร ด้านองค์กรการกุศลร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาคนไร้บ้านโดยด่วน 

สมาคมองค์กรปกครองท้องถิ่นของอังกฤษ (Local Government Association) หรือ LGA ออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาจัดที่อยู่อาศัยชั่วคราวแก่เด็กจำนวน 120,540 คนได้อยู่พร้อมกับครอบครัว ซึ่งจำนวนตัวเลขเพิ่มขึ้นจากปี 2014 ถึง 32,650 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 37

LGA ซึ่งเป็นตัวแทนขององค์กรท้องถิ่นในอังกฤษจำนวน 350 แห่ง ระบุว่า ศูนย์พักพิงกำลังเผชิญกับภาวะไม่มั่นคง อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการจ้างงานของผู้ปกครอง สุขภาพและการศึกษาของเด็ก  รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ของเด็กอีกด้วย เนื่องจากท้องถิ่นต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่ายในศูนย์พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไร้บ้านด้วยตนเองมาโดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา  ปัญหาที่เริ่มขยายตัวขึ้นนำมาสู่ความต้องการใช้ศูนย์พักพิงฯมากขึ้น ทำให้งบประมาณของท้องถิ่นเริ่มตึงมือ LGVระบุว่า เทศบาลท้องถิ่นอาจต้องใช้งบประมาณที่มากถึง 5.8 พันล้านปอนด์ในปี 2020

LGV ต้องการให้ท้องถิ่นมีอำนาจตั้งกองทุนให้กลุ่มคนไร้บ้านกู้ยืม เพื่อซื้อบ้านของรัฐราคาไม่แพง และนำเงินทุนมาหมุนเวียนสร้างที่อยู่ใหม่ หรือปรับปรุงของเก่าเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน และไม่เบียดเบียนงบประมาณ

พวกเขายังเรียกร้องให้รัฐบาลส่วนกลางเปลี่ยนนโยบายปฏิรูปสวัสดิการ เช่น ระบบกู้ยืม เพื่อให้คนเข้าถึงเงินทุนที่อยู่อาศัย สามารถมีบ้านเป็นของตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงการไร้บ้าน

มาร์ติน เท็ทท์ โฆษกสมาคมองค์กรปกครองท้องถิ่นของอังกฤษ กล่าวว่า “ เมื่ออปท.มีจำนวนบ้าน(ศูนย์พักพิง)เท่ากับจำนวนเด็กมัธยมตอนปลาย มีค่าใช้จ่ายทุกเดือน งบประมาณของท้องถิ่นที่จ่ายให้แก่ศูนย์พักพิงเพิ่มขึ้นสามเท่าในช่วงสามปี มันชัดเจนมากว่า สถานการณ์นำพาความไม่มั่นคงแก่องค์กรท้องถิ่น”

“ขณะที่รัฐบาลกำลังหาหาวิธีทำให้เทศบาลสามารถสร้างบ้านได้มากขึ้น แต่บ้านใหม่เหล่านี้ไม่สามารถเกิดขึ้นทันทีที่ปัญหาเกิด”

“องค์กรปกครองท้องถิ่นกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน พยายามใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ไขปัญหา แต่ตอนนี้เราต้องการให้รัฐบาลส่วนกลางสนับสนุนความพยายามของเรา โดยอนุญาตให้อปท.สามารถลงทุนสร้างบ้านราคาไม่แพง และปรับนโยบายปฏิรูปสวัสดิการเพื่อทำให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงเงินทุน”

แอน เบกซ์เซนเดล ผู้อำนวยการโครงการรณรงค์นโยบายและศูนย์พักพิงการกุศล กล่าวว่า “ทุกๆ วันเราพูดกับครอบครัวที่จำทนต้องอยู่ในหอพักอันสกปรก คับแคบ พวกเขาถูกบังคับให้อาศัยอยู่เป็นเวลาหลายสัปดาห์ เป็นเวลาหลายเดือน เพราะอปท.ไม่สามารถหาที่อื่นๆให้เขาได้”

“สถานการณ์แบบนี้มันย่ำแย่ลงทุกที เราไม่มีบ้านราคาถูก และสวัสดิการก็ถูกตัด”

“รัฐบาลสามารถที่จะแก้วงจรปัญหาคนไร้บ้านอันน่าปวดหัวใจได้ อย่างแรก  พวกเขาต้องไม่มองผลประโยชน์กำไรจากด้านที่อยู่อาศัย(กลุ่มอสังหาริมทรัพย์) เพราะมันทำให้ครอบครัวเป็นพันๆ ครัวเรือนมีรายจ่ายสูงขึ้น ไม่สามารถเช่าบ้านได้ และในระยะยาว รัฐต้องสร้างบ้านให้ครอบครัวกลุ่มผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงได้”

 

 


ที่มา: welfareweekly