เมื่อพูดถึงคนไร้บ้าน เราอาจนึกถึงภาพของคนยากไร้ ไม่มีงานทำ และส่วนใหญ่เป็นคนไร้บ้านหน้าใหม่ แต่ประเทศร่ำรวยและจัดการเมืองได้ดีเยี่ยมแห่งหนึ่งของโลกอย่างสิงคโปร์ก็มีปัญหาคนไร้บ้านเช่นกัน คนไร้บ้านที่นี่ไม่ได้เป็นคนตกงาน หรือเพิ่งมาเป็นคนไร้บ้าน ส่วนใหญ่มีงานทำ และใช้ชีวิตแบบไร้บ้านเกินหนึ่งปี
ผลสำรวจคนไร้บ้านในสิงคโปร์พบว่า จำนวน 3 ใน 5 ทำงานแบบเต็มเวลา จำนวน 1 ใน 4 ใช้ชีวิตแบบไร้บ้านมานานกว่า 5 ปี และจำนวนครึ่งหนึ่งมีอายุราว 41-59 รวมถึงส่วนหนึ่งมีแฟลตเป็นชื่อของตัวเองแต่ปล่อยเช่า
การสำรวจคนไร้บ้านในสิงคโปร์ ไม่เหมือนกับภาพที่คนทั่วไปคิด ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คนไร้บ้านสิงคโปร์มีงานทำ ตัวอย่างจากการตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจ 6 ใน 10 คน มีงานทำ
“ในกลุ่มที่มีงานทำ ร้อยละ 60 ทำงานแบบเต็มเวลา ร้อยละ 40 ทำงานพาร์ทไทม์ หรืองานชั่วคราว ส่วนใหญ่ทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาด และพนักงานรักษาความปลอดภัย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หงอ กก โฮ (Ng Kok Hoe) สำนักนโยบายสาธารณะลีกวนยู หนึ่งในทีมสำรวจ กล่าว
จำนวน 1 ใน 3 อาศัยหลับนอนในที่สาธารณะระยะเวลา 1-5 ปี และจำนวนถึงร้อยละ 27 ใช้ชีวิตไร้บ้านมานานกว่า 5 ปี
รายงานสำรวจชิ้นนี้สำรวจโดยกลุ่ม SW101 ซึ่งทำงานด้านสังคมเคราะห์และสวัสดิการในสิงคโปร์ โดยได้ลงสำรวจคนไร้บ้านครั้งแรก
“ประเด็นสำคัญ คือ คนไร้บ้านที่มีงานทำมีจำนวนเท่าไหร่ สำหรับเรา ประเด็นนี้มีส่วนทำให้ผู้คนทั่วไปมีภาพคนไร้บ้านว่า เป็นคนที่ไร้ทักษะ และการศึกษาไม่สูงจึงได้ค่าแรงน้อย สถานะไม่มั่นคง และจบด้วยการใช้ชีวิตไร้บ้าน”
“การไร้บ้าน กลายเป็นสิ่งบ่งบอกว่า มันเกี่ยวกับบริบทของค่าจ้าง แต่ผลสำรวจเปลี่ยนการรับรู้ว่า แม้คนมีงานทำ ก็ยังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย จนต้องมาใช้ชีวิตบนท้องถนน” ผศ.หงอ กล่าว
การสำรวจใช้วิธีการนับจำนวนไม่ต่างจากประเทศอเมริกา แคนาดา และสหราชอาณาจักรที่เคยสำรวจมาแล้ว คือ ใช้คนจำนวนมากกว่า 100 คน สำรวจนับพร้อมกันในคืนเดียวทั่วพื้นที่ คนที่เข้าร่วมสำรวจมาจากสมาชิกกลุ่ม SW101 องค์กรมงฟอร์ตแคร์, และอาสาสมัคร โดยสำรวจ 25 พื้นที่ ซึ่งเลือกจากข้อมูลองค์กรสังคมสงเคราะห์ และองค์กรพัฒนาเอกชน
ผลการนับพบว่า มีคนไร้บ้านไม่ต่ำกว่า 180 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย และมี 29 คนที่เข้าข่ายแต่ไม่บอกว่าตนเองใช้ชีวิตในที่สาธารณะ
สถานที่ที่ใช้หลับนอนได้แก่ สวนสาธารณะ ศูนย์การค้า(ที่เปิด24ชม.) สถานที่ลับตาคน รวมถึงฟุตบาท และย่านกลางเมือง
ผศ.หงอ กล่าวว่า สิ่งที่ทำให้เราเซอร์ไพร์ลำดับต่อมา คือ คนไร้บ้านใช้ชีวิตมานานเกินหนึ่งปี
“เหล่าอาสาสมัครไม่คิดว่าจะเจอคนที่สามารถใช้ชีวิตแบบนี้ผ่านคืนๆ หนึ่งได้”
“การไร้บ้านเป็นภาวะเรื้อรัง ไม่ใช่เกิดขึ้นชั่วคราว มันกลายเป็นวิถีชีวิตของคนที่ไร้ทางเลือก”
เขายังชี้ให้เห็นด้วยว่า การสำรวจสำรวจแค่ในพื้นที่ที่สำคัญ ไม่ใช่ทำทั่วประเทศ พวกเขาคิดว่าสิงคโปรยังประเมินปัญหาคนไร้บ้านต่ำไป
กระทรวงสังคมและครอบครัว ได้ออกมาเผยว่า ทางการช่วยเหลือคนไร้บ้าน รวมถึงคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และต้องการความช่วยเหลือด้านที่อยู่ เฉลี่ยปีละ 300 เคส ในจำนวนนี้ไม่รวมบุคคลที่มีบ้าน แต่เลือกใช้ชีวิตคคนไร้บ้าน เพราะปัญหาครอบครัว หรือเหตุผลอื่นๆ
“เราจะเห็นตัวอย่างได้จากบางคนเลือกนอนในสถานที่ที่ใกล้ที่ทำงาน เพราะสะดวก เหรือต้องเปลี่ยนงาน การแบ่งคนไร้บ้านตามเกณฑ์ดังกล่าว อาจเป็นผลให้แตตัวเลขของ MSF กับรายงานของSW101แตกต่างกัน” โฆษกกระทรวงกล่าว
จำนวนตัวเลขที่รายงานโดยกระทรวงสังคมฯ ระบุว่า ในปี 2013 คนไร้บ้าน(ตามเกณฑ์ทางการ)มีทั้งหมด 321 เคส เป็นเคสเดี่ยว 177 เคส เคสครอบครัวอีก 144 เคส ปีที่แล้วตัวเลขลดลงเหลือ 269 จำนวนเคสเดี่ยวกับครอบครัวมีจำนวนเท่าๆ กัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงฯมองเคสตามแรงจูงใจ และข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคล
“คนไร้บ้านมีแนวแนวโน้มเป็นกลุ่มคนสูงวัย มีปัญหาทางสุขภาพและจิตใจ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ไม่มีครอบครัวและญาติพี่น้องคอยช่วยเหลือ”
“พวกเขาไม่สามารถมีที่พักอาศัยได้ในระยะยาว อยู่อย่างอิสระ กระทรวงฯจะจัดสรรสวัสดิการที่อยู่อาศัยให้กับคนกลุ่มนี้”
รายงานของกระทรวงฯ ค่อนข้างตรงกันข้ามกับผลสำรวจของกลุ่ม SW101 รายงานกระทรวงฯ ปี 2010 ระบุว่า กลุ่มคนที่ต้องการเข้าไปอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวเริ่มเป็นคนสูงวัย อายุระหว่าง 41-59 ปี แต่กลุ่ม SW101กลับพบว่า คนไร้บ้านส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน
และจากการสัมภาษณ์ของเอ็นจีโอ คนไร้บ้านให้เหตุผลการมาใช้ชีวิตเช่นนี้ว่า เป็นเพราะความขัดแย้งในครอบครัว ปัญหาความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกัน ความล้มเหลวในการใช้ชีวิตหลังแต่งงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสูงวัยชาย ให้เหตุผลด้านนี้ค่อนข้างมาก บางคนซื้อแฟลตแล้วขาย ไม่สามารถหาซื้อที่อยู่ใหม่ได้ ได้รับเงินอุดหนุนครบโควตาสองครั้งแล้ว จึงไม่มีสิทธิเช่าซื้อแฟลตของรัฐอีก
“แม้จะมีโครงการบ้านสำหรับคนโสด แต่เป็นเรื่องลำบากที่ต้องแชร์กับคนแปลกหน้า และต้องหาคนที่มีสิทธิอยู่อาศัย” นายซานเซียนจี จากองค์กรมงฟอร์ตแคร์กล่าว
นายซานนำทีมนักสังคมเคราะห์จากศูนย์สวัสดิการครอบครัวมารีนพาราดลงสำรวจในพื้นที่สวนสาธารณะอีสต์โคสต์ซึ่งรู้จักกันดีว่า เป็นแคมป์ของคนไร้บ้าน เขาพบสาเหตุการไร้บ้านที่ค่อนข้างซับซ้อนในหลายกรณี เช่น ครอบครัวไม่สมบูรณ์มีปัญหาการใช้ยาเสพติดและความรุนแรง เยาวชนบางคนหนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 18 ปี บางคนหนีออกมาเพราะมีลูก
“ผู้หญิงที่ประสบปัญหามักจะขอรับความช่วยเหลือที่ศูนย์พักพิง แต่ศูนย์พักพิงมีข้อบังคับว่าต้องแยกห้องกับแฟน ดังนั้นพวกเขาจึงเลือกอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ได้อยู่กับลูกและแฟน”
“คนไร้บ้านในสิงคโปร์ไม่เหมือนกับภาพในจินตนาการหรอก ต้องใส่เสื้อผ้าขาดๆ พึ่งพาสวัสดิการรัฐ สกปรก ผมรุงรัง ทำไมพวกเขาต้องแสดงตัวแบบนั้น เป็นคนไม่เหลืออะไรเลย?” นายซานกล่าว
ประเด็นนี้ตรงกับสิ่งที่กระทรวงฯพบเช่นกันว่า “แม้เราจะพยายามหาช่วยเหลือคนเหล่านี้ แต่บางคนปฏิเสธรับความช่วยเหลือด้วยหลายๆ เหตุผล” โฆษกกล่าว
กลุ่มหัวใจคนไร้บ้านแห่งสิงคโปร์ และกลุ่มอาสาสมัครให้ข้อมูลว่า พวกเขาพบเจอคนไร้บ้านที่ต่างจากภาพที่คนทั่วไปจินตนาการ
คุณอับบราฮัม โย กล่าวว่า กลุ่มของเขาเจอคนๆ หนึ่งอายุ 40 ปีกว่า แต่เขาดูราวกับเด็กหนุ่มอายุ 20 กว่าปี ที่สำคัญ คือมีงานประจำทำ
“บางคนนอนในร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่ ในเกย์ลาง บางคนอยู่ในร้านอินเตอร์ตลอดคืนเพื่อหางาน บางคนที่เราคบเป็นโครตเซียนเกมส์”
เบน (นามสมมุติ) อายุ 35 ปี เป็นคนหนึ่งที่หลับนอนในร้านแลนชอป เขาใช้ชีวิตไร้บ้านเกินกว่าแปดปี ประกอบอาชีพพนักงานเสริฟอาหารมาได้แปดเดือนแล้ว เขาเพิ่งจบการอบรม และได้รับใบประกาศนียบัตรด้านการท่องเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว เพื่อเพิ่มทางเลือกในการหางานให้กับตัวเอง
“ถ้าคุณไม่พยายามที่จะพัฒนาตัวเอง คุณจะกลายเป็นพวกไดโนเสาร์”
“ผมเชื่อว่าผมสามารถสร้างสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ได้ เปลี่ยนมันในแนวทางเล็กๆ ตามแนวทางของผม”
ผู้เขียน: Goh Chiew Tong
ที่มา: Channel NewsAsia