เราทุกคนล้วนเปราะบาง: เข้าใจความเปราะบาง (ใหม่) ในเมืองใหญ่ยุคโรคระบาด
Penguin Homeless ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับคนเปราะบาง จัดเสวนาในหัวข้อ “The Fragile City EP.01: ใครบ้างคือคนเปราะบางในเมืองใหญ่” และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้
Penguin Homeless ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่ทำงานร่วมกับคนเปราะบาง จัดเสวนาในหัวข้อ “The Fragile City EP.01: ใครบ้างคือคนเปราะบางในเมืองใหญ่” และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้
นวัตกรรมที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่ได้สร้างผลดีให้กับผู้เช่าเสมอไป แม้ว่าเทคโนโลยีด้านอสังหาริมทรัพย์จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่วิธีที่เราจัดการที่พักอาศัย แต่มันไม่ได้ขจัดความเหลื่อมล้ำด้านที่อยู่อาศัยที่ดำเนินมาตั้งแต่อดีต ไม่ได้สร้างเสริมสิทธิของผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ และไม่ได้ช่วยให้ทุกคนเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้อย่างถ้วนหน้าเสมอไป
ในประเทศต่าง ๆ แผนที่กลายมาเป็นเครื่องมือบันทึกประวัติศาสตร์ความอยุติธรรมด้านที่อยู่อาศัย เล่าเรื่องราวการต่อสู้เพื่อให้ทุกคนได้บ้านและอยู่ในพื้นที่สาธารณะอย่างปลอดภัย และฉายภาพให้เราเห็นว่าความเหลื่อมล้ำกำลังคุกคามผู้อยู่อาศัยที่ไหนบ้าง
ที่ผ่านมา คนที่อาศัยอยู่ในที่สาธารณะนั้นโดนปฏิบัติราวกับเป็นอาชญากร เนื่องจากกฎหมายได้อนุญาตให้ตำรวจดำเนินคดีกับคนที่ใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อพักผ่อน หลับนอน ขับถ่าย หรือทำมาหากิน ไม่ว่าจะด้วยการจำคุก ปรับเงิน หรือทั้งจำและปรับ แต่ในขณะเดียวกันเอง เทศบาลเมืองหรือรัฐบาลยังไม่สามารถจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่สาธารณะ หรือหากสิ่งเหล่านั้นถูกติดตั้งแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าจะอยู่ในสภาพที่ดีเสมอไป
ตัวอย่างมาตรการการป้องกันภาวะไร้บ้านและที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงจาก 4 ประเทศต่อไปนี้ ได้แก่ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ทั้งนโยบายของรัฐบาลกลางแต่ละประเทศ และมาตรการให้ความช่วยเหลือระดับท้องถิ่นที่เคยประกาศใช้ในปี 2563
เป็นเวลา 1 ปีแล้วหลังจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดในประเทศไทย สิ่งที่ตามมาคือ ปรากฏการณ์ “คนไร้บ้านหน้าใหม่” ที่ขยายตัวมากขึ้นเรื่อย นักวิชาการคาดการณ์ว่าอัตราคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ จะสูงขึ้นอีกร้อยละ 30 เนื่องจากภาวะขาดแคลนงาน นั่นหมายความว่าในเมือง ๆ เดียว มีคนที่กำลังเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยอย่างน้อย 1,600 – 1,700 คน
เมื่อเรานึกถึงนโยบายที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของคนยากจน สิ่งที่สำคัญที่สุดอาจจะไม่ใช่แค่ปริมาณของที่อยู่อาศัยซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของผู้คน แต่เป็นความรู้สึกของคนที่ต้องเข้าไปอยู่อาศัยในสถานที่เหล่านั้น และความรู้สึกที่สถานที่เหล่านี้ก่อให้เกิดขึ้นในใจของผู้พักอาศัย
วิกฤติไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นว่าประชาชนอยู่ในสถานะที่เปราะบางอย่างแสนสาหัส และในขณะเดียวกันเอง มันยังชี้ไปที่สิ่งที่มีไม่มากพอ นั่นคือมาตรการของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นตาข่ายคอยดักคนมิให้ร่วงหล่น
ทำไมช่วงเวลาที่เราใช้ในพื้นที่สาธารณะมันชวนให้อึดอัดจัง? จะนั่ง จะยืน จะพักผ่อนสักนิดก็ไม่เหมาะสักอย่างเลย แป๊บ ๆ ก็จำต้องย้ายตัวเองไปที่อื่นแล้ว เหมือนพื้นที่ตรงนั้นไม่ต้อนรับการปรากฏตัวของเราเลย?
Affordable housing คือแนวคิดที่ยืนยันว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีที่พำนักอาศัยอย่างมั่นคง
การเป็นคนไร้บ้านเองก็มีที่ทางอยู่ในภาษาในชีวิตประจำวันและภาษาข่าว – ในฐานะสัญลักษณ์ของ “อันตราย” “อาชญากรรม” “ความสกปรก” “ภาชนะรองรับความเห็นใจ เมตตา เอื้ออาทร” “เดนมนุษย์” “ความล้มเหลว” และ “ส่วนเกินของสังคมที่ต้องกำจัดให้ได้” และด้วยมายาคติเหล่านี้เอง คนทั่ว ๆ ไปจึงตัดสินใจปฏิบัติกับคนไร้บ้านดุจเป็นอาชญากร
เมื่อการไม่มีที่อยู่อาศัยมั่นคงถูกตราว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของสังคม ผนวกกับอคติที่ผู้คนมีต่อบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ร่างกายของคนไร้บ้านจึงไม่ต่างอะไรจากเป้าหมายให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตามพื้นที่ต่าง ๆ เข้าไปไล่รังควาน หรือตกเป็นเป้านิ่งให้ผู้บังคับใช้กฎหมายเล่นงาน